บริการตรวจสอบทางวิศวกรรมโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
“มั่นใจทุกการก่อสร้าง และการประกอบกิจการ ด้วยการตรวจสอบทางวิศวกรรมที่ได้มาตรฐาน”
ในการก่อสร้างอาคารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน โรงงาน หรือโครงการขนาดใหญ่ การตรวจสอบทางวิศวกรรม เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าโครงสร้างอาคารมีความแข็งแรง ปลอดภัย และสอดคล้องตามมาตรฐานกฎหมายและข้อกำหนดของงานก่อสร้าง
บริการตรวจสอบทางวิศวกรรมของเรา ดำเนินการโดยทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และได้รับใบประกอบวิชาชีพที่รับรองโดย สภาวิศวกร รวมทั้งหน่วยงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการตรวจสอบ ตั้งแต่การตรวจสอบพื้นที่ก่อนก่อสร้าง ตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร ไปจนถึงการประเมินความพร้อมใช้งานของอาคารเก่า และใหม่ อีกทั้งเรายังให้บริการตรวจสอบเฉพาะทางเกี่ยวกับสถานประกอบการด้านพลังงาน เช่น ระบบท่อ-ถังเก็บน้ำมัน สถานที่เก็บ ปั๊มน้ำมัน เพื่อจำหน่าย หรือใช้เอง, ระบบท่อ-ถังเก็บก๊าซ LPG ร้านค้า สถานที่ใช้ สถานที่เก็บ ปั๊มเติมก๊าซ โรงบรรจุก๊าซ เป็นต้น
เราพร้อมให้บริการใน 6 ด้านหลักของงานตรวจสอบวิศวกรรมที่สำคัญ ได้แก่

1. งานสำรวจขอบเขต ขนาด และหมุดที่ดิน กำหนดระยะ และระดับการก่อสร้างโดยใช้กล้องสำรวจทางวิศวกรรม
ความสำคัญของการสำรวจขนาดที่ดินและระดับการก่อสร้าง
การเริ่มต้นโครงการก่อสร้างที่ดีต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับขนาดที่ดิน และระดับความสูงของพื้นที่ งานสำรวจขอบเขต ขนาด และหมุดที่ดิน เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ช่วยให้แน่ใจว่า การก่อสร้างจะดำเนินการได้อย่างแม่นยำ ตามแบบที่กำหนด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจ
ในการตรวจสอบขอบเขต ระยะ และระดับก่อสร้าง เราใช้ เครื่องมือสำรวจที่ทันสมัย ได้แก่
- กล้อง Leveling ใช้สำหรับตรวจสอบระดับของพื้นที่ และปรับความสูงของโครงสร้างให้ได้มาตรฐาน
- กล้อง Total Station ใช้สำหรับวัดระยะทาง มุม และกำหนดพิกัดที่แม่นยำในการก่อสร้าง
- โดรน ใช้สำหรับถ่ายภาพขอบเขตทั้งหมด เพื่อให้เห็นพื้นที่ภาพรวมในมุมสูง
การตรวจสอบที่ครอบคลุม
✅ กำหนดตำแหน่งหมุดหลักของโครงการให้แม่นยำ ทั้งหมุดที่ดิน หมุดสำหรับลงเสาเข็ม และเส้นกริดไลน์ต่างๆ
✅ ตรวจสอบระยะห่างของอาคารให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
✅ กำหนด และวัดระยะ และระดับงานส่วนต่างๆ ให้สอดคล้องกับแบบก่อสร้าง
✅ เห็นภาพรวมขอบเขตของโครงการอย่างชัดเจน

2. งานเจาะสำรวจชั้นดินทางวิศวกรรม
การเจาะสำรวจชั้นดิน สำคัญอย่างไรกับงานก่อสร้าง?
“รากฐานที่มั่นคง เริ่มต้นจากการสำรวจดินที่แม่นยำ”
การเจาะสำรวจชั้นดิน (Soil Investigation) เป็นขั้นตอนสำคัญก่อนการออกแบบและก่อสร้างอาคาร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณสมบัติของดินในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อให้วิศวกรโครงสร้างสามารถออกแบบฐานรากได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากปัญหาการทรุดตัวของอาคาร
ทำไมต้องเจาะสำรวจดิน?
- ระบุคุณสมบัติของดิน – วิเคราะห์ชั้นดิน ความแน่น ความสามารถในการรับน้ำหนัก และระดับน้ำใต้ดิน
- ออกแบบฐานรากที่เหมาะสม – วิศวกรสามารถเลือกใช้ฐานรากแบบตื้น (ฐานรากแผ่) หรือฐานรากแบบลึก (เสาเข็ม) ตามสภาพดิน
- ลดปัญหาการทรุดตัวของอาคาร – ป้องกันการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน ซึ่งอาจส่งผลให้โครงสร้างแตกร้าวหรือเสียหาย
- คาดการณ์พฤติกรรมของดิน – เพื่อป้องกันปัญหาดินอ่อน ดินเหนียวอุ้มน้ำ หรือดินทรายที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงของอาคาร
กระบวนการเจาะสำรวจดิน
- กำหนดจุดเจาะ – วิศวกรจะกำหนดตำแหน่ง และจำนวนจุดเจาะให้ครอบคลุมพื้นที่ก่อสร้าง
- ใช้เครื่องมือเจาะสำรวจ – เช่น เครื่องเจาะแบบ Rotary Drilling หรือ Hand Auger
- เก็บตัวอย่างดิน (Soil Sampling) – นำตัวอย่างดินจากแต่ละชั้นมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี
- ทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ – เช่น ทดสอบความแน่นของดิน (Standard Penetration Test – SPT) และทดสอบแรงเฉือนของดิน
- วิเคราะห์และสรุปรายงานผล – วิศวกรใช้ข้อมูลจากการสำรวจเพื่อออกแบบฐานรากที่มั่นคง และปลอดภัย
การเจาะสำรวจชั้นดินเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้การออกแบบ และก่อสร้างอาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงของปัญหาโครงสร้างในอนาคต หากไม่มีการสำรวจดินก่อนการก่อสร้าง อาจทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวหรือโครงสร้างแตกร้าว ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรง และอันตรายถึงชีวิต
3. งานตรวจสอบความแข็งแรงของอาคารโดยสายตา (Visual Inspection Method) และเครื่องมือ Hammer Test
ตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection Method)
การตรวจสอบความแข็งแรงของอาคารโดยใช้ Visual Inspection เป็นวิธีที่วิศวกรสามารถใช้ประเมินโครงสร้างพื้นฐานของอาคาร โดยพิจารณาจากรอยร้าว บิดเบี้ยว หรือสภาพของวัสดุตามมาตรฐานการตรวจสอบ โดยอ้างอิงหลักการทางวิศวกรรมโครงสร้าง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้งานอาคาร
✅ ตรวจสอบรอยร้าวของคอนกรีต และผนัง ที่จะบ่งบอกถึงการทรุดตัว หรือเหตุของปัญหา
✅ ตรวจสอบการแอ่นตัวของพื้น และคาน
✅ ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ และความพร้อมในการใช้งานของโครงสร้างอาคาร
ตรวจสอบด้วยเครื่อง Hammer Test
เครื่อง Schmidt Hammer Test หรือ Rebound Hammer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบ กำลังอัดของคอนกรีต โดยไม่ต้องทำลายพื้นผิวของโครงสร้าง
✅ ประเมินค่าความแข็งแรงของคอนกรีต
✅ ตรวจสอบว่าวัสดุยังคงสภาพดีหรือไม่
✅ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านโครงสร้าง
✅ เพิ่มความมั่นใจในการใช้งานโครงสร้าง
4. งานตรวจสอบความสมบูรณ์ และความแข็งแรงของเสาเข็ม
ทำไมต้องตรวจสอบเสาเข็ม?
เสาเข็มเป็น รากฐานสำคัญของอาคาร หากเสาเข็มมีปัญหา โครงสร้างทั้งหมดอาจได้รับผลกระทบ การตรวจสอบเสาเข็มช่วยให้มั่นใจว่าอาคารของคุณมี รากฐานที่มั่นคง และปลอดภัย
วิธีการตรวจสอบเสาเข็ม
- Pile Integrity Test (PIT) ตรวจสอบรอยแตกร้าวและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
- Dynamic Load Test ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยใช้แรงกระแทก
- Static Load Test ทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบคงที่
✅ ตรวจสอบรอยแตกร้าวของเสาเข็ม
✅ วัดค่าการรับน้ำหนักของเสาเข็ม
✅ ประเมินความลึกอและความแข็งแรงของเสาเข็ม
5. งานตรวจสอบอาคาร ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร
การตรวจสอบอาคารตามข้อกำหนดกฎหมาย
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร กำหนดให้เจ้าของอาคารบางประเภทต้องมีการตรวจสอบสภาพอาคารเป็นระยะทุกปี และตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี โดยเฉพาะอาคารขนาดใหญ่ เช่น
🏢 อาคารสูง
🏢 โรงแรม
🏢 โรงงาน
🏢 อาคารสาธารณะ
สิ่งที่ทางเจ้าของอาคารต้องเตรียมให้ทีมตรวจ
- เอกสารรับรองการตรวจสอบอาคาร ร.1
- เอกสารใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร อ.1
- แบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
- รายงานการตรวจสอบระบบลิฟต์
- รายงานการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- รายงานการตรวจสอบระบบไฟฟ้า
- รายงานการตรวจสอบระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
- รายงานการตรวจสอบระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
- เอกสารการฝึกซ้อมหนีไฟ
- รายงานตรวจอาคาร 5 ปีก่อน
- ช่างประจำอาคารทุกอาคารที่ทีมผู้ตรวจสอบอาคารเข้าตรวจ
รายละเอียดในการตรวจสอบ
การตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ทีมวิศวกรผู้ตรวจสอบอาคารจะทำการตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้
- การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้
1.1 การเปลี่ยนแปลงนํ้าหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
1.2 การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
1.3 การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้าง หรือวัสดุตกแต่งอาคาร
1.4 การชำรุดสึกหรอของอาคาร
1.5 การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
1.6 การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
- การตรวจสอบระบบ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของอาคาร ดังนี้
2.1 ระบบบริการ และอำนวยความสะดวก
2.1.1 ระบบลิฟต์
2.1.2 ระบบไฟฟ้า
2.1.3 ระบบปรับอากาศ
2.2 ระบบสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม
2.2.1 ระบบประปา
2.2.2 ระบบระบายนํ้าเสีย และระบบบำบัดนํ้าเสีย
2.2.3 ระบบระบายนํ้าฝน
2.2.4 ระบบจัดการมูลฝอย
2.2.5 ระบบระบายอากาศ
2.2.6 ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ และเสียง
2.3 ระบบป้องกัน และระงับอัคคีภัย
2.3.1 บันไดหนีไฟ และทางหนีไฟ
2.3.2 เครื่องหมาย และไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
2.3.3 ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
2.3.4 ระบบลิฟต์
2.3.5 ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยมีการสุ่มทดสอบตัวอย่าง โซนละ 1 ตัวอย่าง
2.3.6 ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
2.3.7 ระบบการจ่ายนํ้าดับเพลิง เครื่องสูบนํ้าดับเพลิง และหัวฉีดนํ้าดับเพลิง
2.3.8 ระบบป้องกันฟ้าผ่า
2.4 การตรวจสอบสมรรถนะของระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร
2.4.1 สมรรถนะบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟ
2.4.2 สมรรถนะเครื่องหมาย และไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
2.4.3 สมรรถนะระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
2.5 การตรวจสอบระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคาร
2.5.1 แผนการป้องกัน และระงับอัคคีภัยในอาคาร
2.5.2 แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
2.5.3 แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
2.5.4 แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
การตรวจสอบอาคารตามกฎหมายช่วยให้มั่นใจได้ว่าอาคารยังคง ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
6. งานตรวจสอบความพร้อมการใช้งานของอาคารเก่า และใหม่
ทำไมต้องตรวจสอบอาคารก่อนเข้าใช้งาน?
ก่อนที่เจ้าของโครงการจะรับมอบอาคาร ควรมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าอาคารมีความสมบูรณ์ และไม่มีข้อบกพร่องที่อาจเป็นปัญหาในอนาคต
รายการตรวจสอบความพร้อมของอาคาร
✅ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า และสุขาภิบาล
✅ ตรวจสอบการติดตั้งประตู หน้าต่าง และวัสดุปิดผิว
✅ ตรวจสอบระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
✅ ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง
7. งานตรวจสอบความพร้อมการใช้งานของสถานประกอบการด้านพลังงาน
สถานประกอบการใหม่ที่ตั้งอยู่เดี่ยวๆ หรือสถานประกอบการที่เปิดกิจการมานานแล้ว แต่ตั้งอยู่ในห้องแถว/ตึกแถว ที่ผู้ประกอบการต้องการจะขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายเรายินดีให้คำแนะนำ
สถานที่ใช้ก๊าซ LPG
สถานที่ใช้ก๊าซ LPG สำหรับโรงอาหาร หรือใช้ในกระบวนการผลิต (1 ลิตร = 0.5 กิโลกรัม)
1.สถานที่ใช้ ลักษณะที่หนึ่ง ใช้ก๊าซจากถังก๊าซหุงต้มรวมกันเกิน 250 แต่ไม่เกิน 500 ลิตร สามารถประกอบกิจการได้ทันที
2.สถานที่ใช้ ลักษณะที่สอง ใช้ก๊าซจากถังก๊าซหุงต้มรวมกันเกิน 500 แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร ต้องแจ้งประกอบกิจการ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการประกอบกิจการ
3.สถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม ปริมาณการใช้ก๊าซเกิน 1,000 ลิตร ต้องขออนุญาต และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการประกอบกิจการ
ร้านขายแก๊สหุงต้ม
ร้านขายแก๊สหุงต้ม ที่เก็บ LPG ไว้ในกระป๋อง หรือถังก๊าซหุงต้ม มี 2 ลักษณะ (1 ลิตร = 0.5 กิโลกรัม)
– ลักษณะที่ 1 ร้านที่มีปริมาณการเก็บ ตั้งแต่ 150-500 ลิตร ต้องแจ้งประกอบกิจการ
– ลักษณะที่ 2 ร้านที่มีปริมาณการเก็บเกิน 500 ลิตร ต้องขออนุญาตประกอบกิจการ
ถังเก็บน้ำมัน
ถังเก็บน้ำมันบนดิน ถังเก็บน้ำมันดีเซล และตู้จ่ายน้ำมันไว้ใช้เติมเองภายในบริษัท หรือมีถังน้ำมันเตาไว้ใช้ในกระบวนการผลิตที่ผู้ประกอบการต้องการจะขออนุญาตให้ถูกต้อง
เราให้บริการ
เราให้บริการตรวจสอบ ออกแบบ และเขียนแบบ เพื่อยื่นขอใบอนุญาต หรือขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง กรมธุรกิจพลังงาน
– ระบบท่อ-ถังเก็บ น้ำมัน สถานที่เก็บ ปั๊มน้ำมัน เพื่อจำหน่าย หรือใช้เอง
– ระบบท่อ-ถังเก็บ ก๊าซ LPG ร้านค้า สถานที่ใช้ สถานที่เก็บ ปั๊มเติมก๊าซ โรงบรรจุก๊าซ
พร้อมรายการคำนวณ และลงนามรับรองโดยวิศกรเครื่องกล และโยธา ใช้ยื่นเพื่อขออนุญาตกับกระทรวงพลังงาน ขออนุญาตก่อสร้าง และแจ้งประกอบกิจการกับท้องถิ่น เขตพื้นที่, เทศบาล, อบต.
นอกจากนี้ ทางเรายังมีประกันความรับผิดชอบตามกฎหมายที่เกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า พรบ.ปั๊มน้ำมัน ได้แก่
– ร้านขายแก๊สหุงต้ม
– โรงบรรจุแก๊ส
– ปั๊มแก๊ส
– ปั๊มน้ำมัน (รวมถึงตู้จ่ายน้ำมันที่ใช้เติมเองในกิจการ)
– โรงงานใช้แก๊ส ใช้น้ำมัน ที่มีปริมาณการเก็บเข้าข่ายต้องขออนุญาตกับพลังงาน
ทำไมต้องเลือกบริการตรวจสอบทางวิศวกรรมจากเรา?
✔ ดำเนินการโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
เรามีทีมวิศวกรที่มีใบประกอบวิชาชีพ และประสบการณ์ตรงในการตรวจสอบ และออกแบบทางวิศวกรรม
✔ ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย
เราใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบที่แม่นยำ เช่น Hammer Test, Pile Integrity Test, Total Station และเครื่องมือการตรวจสอบทางวิศวกรรมอื่นๆ
✔ ให้คำแนะนำ และแนวทางแก้ไข
เราไม่เพียงตรวจสอบ แต่ยังช่วยเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่พบ
✔ ช่วยให้โครงการก่อสร้าง หรือกิจการของท่านปลอดภัย และมีคุณภาพ
การตรวจสอบที่ละเอียด และแม่นยำช่วยป้องกันปัญหาด้านวิศวกรรม และความปลอดภัย
สรุป
บริการตรวจสอบทางวิศวกรรม เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เจ้าของโครงการมั่นใจได้ว่า อาคารมีความแข็งแรง ปลอดภัย และเป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม เราพร้อมให้บริการครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การสำรวจที่ดิน, เจาะสำรวจชั้นดิน, ตรวจสอบโครงสร้าง, ตรวจสอบเสาเข็ม, ตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย ไปจนถึงการประเมินความพร้อมใช้งานของอาคาร และการตรวจสอบเฉพาะทางเกี่ยวกับสถานประกอบการด้านพลังงาน